Processing Unit



CPU หรือ Central Processing Unit คือหัวใจหลักในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จึงขาดซีพียูไม่ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ กลไกการทำงานของซีพียู การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่ หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล ประสิทธิภาพและความเร็วในการทำงานของซีพียูหรือความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) นั้นขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู

Central Processing Unit

Cache คืออะไร

Cache คือหน่วยความจำอย่างนึง มีความเร็วในการเข้าถึงและการถ่ายโอนข้อมูลที่สูง ซึ่งมีหน้าที่ในการเก็บข้อมูลที่เราต้องการจะใช้งานบ่อยๆ เพื่อเวลาที่ CPU ต้องการใช้ข้อมูลนั้นๆ จะได้ค้นหาได้เร็ว โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องไปค้นหาจากข้อมูลทั้งหมดซึ่งทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลของเราได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Cache มี 2 แบบคือ

1.disk cache คือการเก็บข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลักของเราก่อน เมื่อ CPU ต้องการจะหาข้อมูล ก็จะหาใน dish cache ก่อนแล้วค่อยเข้าไปค้นหาใน Harddisk

2.Memory cache จะดึงข้อมูลมาเก็บไว้ใน memory ซึ่งจะถึงขอ้มูลได้รวดเร็วกว่า แต่มีความจำที่เล็กกว่า

เพราะฉะนั้นถ้า คอมพิวเตอร์เครื่องใดที่มี cache ความเร็วสูงก็จะเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตามยิ่งขนาดใหญ่ก็เก็บข้อมูลได้เยอะ แต่การเข้าถึงจะช้ากว่า cache ที่มีขนาดเล็ก



RAM ย่อมาจาก Random Access Memory

RAM คือหน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ (เป็นหน่วยความจำแบบชั่วคราว ซึ่งหมายถึงจะสามารถทำงานได้เมื่อมีกระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยง เมื่อมีการตัดกระแสไฟฟ้าหรือปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมูลใน RAM ก็จะหายไป) RAM เป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม รวมถึงความเร็วในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์

RAM 

Motherboard คืออะไร

เมนบอร์ด (Motherboard) เป็นการจัดการด้านกายภาคของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยวงจรและอุปกรณ์พื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ การออกแบบแผ่นเมนบอร์ดโดยส่วนใหญ ่สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นแบบ AT. ตามแบบแผ่นเมนบอร์ดของ IBM AT ข้อกำหนดใหม่ของแผ่นเมนบอร์ด คือ ATX เป็นการปรับปรุงการออกแบบ AT แต่การออกแบบของทั้งคู่คือ AT และ ATX ได้กำหนดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้งบนแผ่นเมนบอร์ด คือ

- ไมโครโพรเซสเซอร์

- (อ๊อปชัน : Coprocessor)

- หน่วยความจำ

- BIOS

- expansion Slots

- วงจรต่อเชื่อมภายใน

อุปกรณ์ส่วนเพิ่มอื่น ๆสามารถเพิ่มที่แผ่นเมนบอร์ด โดยการเสียบเข้ากับ expansion slot ส่วนที่เชื่อมระหว่างแผ่นเมนบอร์ดกับการ์ดที่ expansion slot เรียกว่า บัส (BUS)

Motherboard 


daughterboard แผงวงจรตัวลูกหมายถึง แผงวงจรอีกชุดหนึ่งที่ทำเพิ่มไว้เผื่อให้เลือกใช้ได้สามารถเสียบเข้าใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคู่ไปกับแผงวงจรหลักได้เลยเมื่อเรียกแผงวงจรหลักว่า ตัวแม่ (motherboard) จึงได้เรียกตัวนี้ว่าตัวลูก





Sound card
Lan card


vga card


ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk) เปรียบเสมือนคลังเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพราะฉะนั้นจึงต้องมีความจุที่ค่อนข้างสูง ภายในฮาร์ดดิสก์จะมีแผ่นจานเหล็กกลมแบบที่ใช้บันทึกข้อมูลวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ และยึดติดกับมอเตอร์ที่มีความเร็วในการหมุนหลายพันรอบต่อนาทีโดยมีแขนเล็กๆที่ยื่นออดมา ตรงปลายแขนจะมีหัวอ่านซึ่งใช้สำหรับการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนจานแม่เหล็ก การอ่านหรือเขียนข้อมูลของฮาร์ดดิสก์จะใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กที่หัวอ่านขนาดของจานที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop) จะมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ส่วนถ้าเป็นฮาร์ดดิสก์ของโน้ตบุ๊คก็ประมาณ 2.5 นิ้ว


Harddisk

CD/DVD ROM เป็นอุปกรณ์ในการอ่านแผ่น CD VCD DVD โดยใช้แสงในการอ่านข้อมูล สำหรับสื่อประเภทนี้ไปสำหรับบันทึกข้อมูลลงบนแผ่น มีความจุมากกว่าแผ่นดิสก์แบบปกติ CD/DVD Rom เป็นเครื่องที่ใช้ในการอ่านข้อมูลจากแผ่น CDประเภทต่างๆที่ตัวเครื่องสามารถที่จะรองรับการอ่านได้ และโดยทั่วไปการจำหน่ายจะเป็น DVD Rom โดยสามารถที่จะอ่านข้อมูล CD และDVD ได้เลย หากเป็นรุ่นเก่าที่รองรับ CD ได้เท่านั้นไม่สามารถที่จะอ่าน DVD ได้ และปัจจุบันส่วนมากเป็นแผ่น DVD กันหมดแล้ว

CD/DVD ROM


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น